เมนู

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis)

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาตก หย่อนลงมากกว่าปกติ เกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย ลักษณะเปลือกตาบนจึงคลุมปิดตาดำมากเกินกว่าปกติ ทำให้ตาดูปรือ เหมือนตาง่วงนอน ตลอดเวลา ตาดูเพลีย เหนื่อย ไม่สดใส

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง บางคนอาจเป็นมาแต่กำเนิดอยู่แล้ว หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขยี้ตาบ่อยๆ การใส่คอนแทคเลนส์ การเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน

อาการของ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. เลิกหน้าผาก หรือ ยกคิ้วสูง เพราะลืมตาไม่ขึ้น จึงต้องใช้คิ้วช่วยยกเปลือกตาทำให้เปลือกตา ไม่ปิดคลุมตาดำเพื่อเพิ่มการมองเห็น  และเนื่องจากยกคิ้วเป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดริ้วรอยย่นบริเวณหน้าผาก ทำให้ดูมีอายุ

2. ตาปรือ ตาตก ถ้าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียวจะเห็นเปลือกตาข้างนั้นลงมาปิดที่ขอบบน ของตาดำมากกว่าอีกข้าง ลืมตาได้ไม่โตเท่ากับอีกข้าง ทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน ส่งผลให้เสียบุคลิกภาพ

3. เบ้าตาลึก ไขมันในตาแห้ง ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีอายุ ซึ่งคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะ เห็นเบ้าตาลึกที่ชัดกว่าปกติ ดูเป็นคนง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากไขมันใต้เปลือกตาหายไป ทำให้ดูแก่กว่าวัย

4. ตาขี้เกียจ (Lazy eye) การที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นได้ไม่ดีเท่าอีกข้างหนึ่ง หรือข้างหนึ่ง เห็นไม่ชัด อีกข้างหนึ่งเห็นชัดปกติ ซึ่งดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดเกิดจากการสูญเสียพัฒนาการการมองเห็น เรียกว่า ตาขี้เกียจ

สาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 

1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด จะมีเปลือกตาตกตั้งแต่เด็ก ตกแค่ข้างเดียว หรือเป็นสองข้าง อาจเกิดจาก ความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ

2. การทำศัลยกรรมตาที่ผิดพลาด การผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ในภายหลังได

3. อุบัติเหตุ ทำให้กระทบต่อกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 

4. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงภายหลังเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เป็นอาการที่แสดงขึ้นภายหลัง การขยี้ตา การใช้สายตา มากเกินไป จากการใช้ชีวิตประจำวัน 

5. โรค MG (Myasthenia Gravis) การหลั่งสารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ

ในโรค MG นั้นเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง ที่เกิดขึ้นที่ระบบประสาทส่วนปลายกล้ามเนื้อ  ที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกๆ

คือ กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาอาจเป็นเพียงตาข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างโดยหนังตาตกไม่เท่ากันก็ได้ในแต่ละช่วงเวลา 

อาการมักจะดีขึ้นในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน และจะเป็นมากในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น 

 

ในปัจจุบันโรค MG ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ หากแพทย์สงสัยว่าคนไข้เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้ จะยังไม่ควรได้รับการผ่าตัด 

เพราะโรค MG สามารถรักษาได้ด้วยยาที่มีฤทธ์ิลดการทําลายสารสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก และการมองภาพซ้อน ดีขึ้นได้ขึ้นได้ ด้วยการรับประทานยา

การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเหมือนการทำตาสองชั้นปกติ สามารถผ่าตัดได้ทั้งแผลสั้นและแผลยาว แพทย์จะ ผ่าตัดลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อตา เพื่อปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา จะใช้เวลานานกว่า และต้องให้แพทย์ ที่เชี่ยวชาญในการผ่าตัดเท่านั้น 

ผลลัพธ์จากการผ่าตัดแก้ไข้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 1. ตาดำเปิดชัดมากขึ้น ช่วยในการมองเห็น 

2. ดวงตาดูกลมโตสดใส 

3. ตาไม่ปรือ ทำให้บุคลิกภาพดีขึ้น 

4. มีชั้นตาที่สวย สองฝั่งดูใกล้เคียงกัน 

5. ลดปัญหาการเลิกหน้าผาก ทำให้เกิดริ้วรอยลดลง ดูอ่อนเยาว์

โดย Goodwill clinic จะเลือกใช้เทคนิค Charming eyes เป็นเทคนิคที่คุณหมอได้พัฒนาและฝึกอบรมมาจากประเทศเกาหลี ในการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เพื่อตาหวานละมุน ได้ตาหวานสไตล์เกาหลี ร่วมกับ เทคนิค Triple lock ไม่ทำให้ชั้นตาหลุดง่ายขึ้น 

ผ่าตัดโดย นพ.ภานุพงศ์ บุนกาลกุล (หมอฮอลล์) จบเทคนิคทางด้านการทำศัลยกรรมตาสองชั้นและแก้ไข กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงขั้นสูงที่ MEPS : Myoung Eye Plastic Surgery จากประเทศเกาหลี คนไข้จึงมั่นใจได้ ว่าก่อนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยเป็นอย่างดีเพื่อให้ดวงตากลับมาเป็นปกติ แล้ว ยังคำนึงถึงชั้นตาที่เป็นธรรมชาติ ความสวยงามของดวงตาเสมอ

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออาการลืมตาได้ไม่เต็มที่อันเนื่องมาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ยกหนังตา จนทำให้ยกหนังตาไม่ได้หรือยกได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการนำกระแสประสาทลดลงจนอาจะเกิดเป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยลักษณะคือขอบตาบนจะตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ อาจจะบดบังกระจกตาทำให้ตาไม่สดใส ง่วง ตาปรือ เหนื่อยล้า อ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเป็นที่ตาทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้

 

โดยภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง “ไม่จัดเป็นโรค” แต่จัดเป็นเพียงอาการแสดงเท่านั้น

สาเหตุของอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การเกิดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต และปัจจัยต่างๆทั้งภายในและภายนอก

 

เช่น การมองหรือจ้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างการเล่นเกมส์ ทำงานจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ เล่นโทรศัพท์ตลอดเวลา ก็จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อตาได้เช่นกัน เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวนั้นเป็นพฤติกรรมการใช้สายตาโดยการเกร็ง จ้อง อีกทั้งยังใช้ในระยะใกล้มากเกินไป จึงทำให้ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของลูกตาเปลี่ยนไปในบางทีอาจทำให้เกิดกรณีตาเขหรือตาเหล่ร่วมกับอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วย

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่พบมากมี 3 ชนิด

1.   Myasthenia Gravis (MG) ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติจนไปทำลายส่วนของการรับสัญญาณประสาทตรงกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกอ่อนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถรับสัญญาณประสาทในส่วนที่โดนกระตุ้นให้กล้ามเนื้อขยับหรือยืดหดได้สามารถรักษาได้ด้วยยาเพื่อช่วยลดการสารสื่อประสาทบริเวณรอยต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อให้อาการดีขึ้นชั่วคราว หรือบรรเทา ตรวจด้วยน้ำแข็ง หรือตรวจโดยเครื่องนำกระแสประสาท ตามที่แพทย์วินิจฉัย

2. โทสิส (Ptosis) คือภาวะหนังตาตก ผิวหนังเปลือกตาบนหย่อนคล้อยลงมาปิดบดบังลูกตา หรือนัยน์ตาดำมากกว่าปกติ ทำให้ตาปรือ หน้าตาอ่อนล้า ดูง่วงนอนตลอดเวลา อาจพบอาการในตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างได้เช่นกัน โดยที่มีอาการ ชั้นตาดูหนา ลึก หรือ มีรอยพับบนเปลือกตาหลายเส้นซ้อนกันอยู่ เปลือกตาแลดูไม่มีชั้นตาที่คมชัด ทำให้ตาสองข้างดูไม่เท่ากัน เป็นได้ทั้งตั้งแต่กำเนิด และทั้งภายหลัง โดยจะมีอาการ

 

หนัง 2 ตาโดยหนังตาตกไม่เท่ากันอาการมักจะดีขึ้นในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน หลังจากหลับตาพัก  ตาหนัก รู้สึกเหมือนมีอะไรถ่วงที่ตาตลอดเวลาหนังตาตกจนบดบังการมองเห็น รวมไปจนถึงต้องเลิกหน้าผากเพื่อให้ตาเปิดจนมีการปวดหัว

 

ตาตกตาปรือ ตาไม่สดใส
ผู้ที่กล้าเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิดหรือพันธุกรรมการรักษาทำได้เพียงการผ่าตัดรักษาเท่านั้น

3.Asthenopiaหรือ Eye strain คืออาการตาล้า เมื่อย ล้า เมื่อยหนังตา ในบางทีอาจลามถึงอวัยวะอื่นบนใบหน้า โดยจะมีอาการ ปวดเมื่อยตา ตาพล่ามัว ปวดตา ตาแดง ปวดเบ้าตา โดยอาการของคนกลุ่มนี้รักษาได้ด้วยการพักสายตา  สวมแว่นตาตัดแสง นอนหลับและอาจใช้ยาร่วมด้วย

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถผ่าตัดทำตาสองชั้นได้ตามปกติโดยต้องเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการรักษาทั้งสองประเภทคือเชี่ยวชาญทั้งการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง และเชี่ยวชาญในการออกแบบปรับแต่ดวงตาให้และทำตาสองชั้นให้สวยไปด้วยกันได้

สำหรับการรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น เป็นการรักษาที่คงทนอยู่ได้ทั้งชีวิตหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของคนไข้ ว่าหลังจากการทำการผ่าตัดรักษาแล้วนั้นยังกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิม เช่น ขยี้ตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือจ้องคอมพิวเตอร์จนตาเหนื่อยล้าหรือไม่ หากไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว การรักษาสามารถอยู่คงทนได้ตลอดชีวิตอย่างแน่นอน

เทคนิคการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงของ แบ่งเป็น 4 อย่างตามการประเมินของแพทย์

1. Chamming Eyes เทคนิคการทำตาแบบพิเศษด้วยการออกแบบของคุณหมอเพื่อให้ตามีเสน่ห์ที่หน้ามองมากขึ้นและเพิ่มการมองเห็นที่ชัดมากยิ่งขึ้น

2. การผ่าตัดแบบแผลสั้น เป็นการผ่าตัดที่ผ่าแผลเล็กเพียง 1 ซม.เพื่อทำการดึงไขมันที่เปลือกตาออกทำให้ตาไม่หนักและมองชัดมากยิ่งขึ้น

3. การผ่าตัดแบบแผลยาว เป็นการผ่าตัดที่มีขนาดแผลไม่เกิน 3 ซม. เพื่อดึงไขมันที่เปลือกตารวมทั้งตัดหนังตาในคราวเดียวกัน ทำให้ได้ทั้งการมองเห็นที่ชัด และความสวยงามที่เพิ่มขึ้นด้วย 

4.Triple Lock การผ่าตัดโดยใช้การเย็บแผล 3 จุด เพื่อเพิ่มความแข็งแรง เน้นการเย็บที่แน่นมากขึ้นไม่หลุดง่าย

โดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่ละครั้ง ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการประเมิณวิธีการที่เหมาะสม และอาการของคนไข้แต่ละคนซึ่งแตกต่างกันไป หากเบ้าตาลึก แพทย์จะแนะนำให้รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงพร้อมกับปลูกถ่ายไขมัน เพื่อความสวยงามระยะยาวและเป็นธรรมชาติ หากต้องการทำตาสองชั้นไปพร้อมกันแพทย์จะแนะนำวิธีการเฉพาะตัวตามแต่ความเหมาะสม

ดังนั้นการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีว่าตัวเรานั้นมีอาการแบบไหนเหมาะสมกับการรักษาแบบไหนและต้องดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากดวงตานั้นเป็นจุดสำคัญของใบหน้าที่หากทำการรักษาผิดพลาดไปส่งผลเสียมากกว่าผลดี และเพื่อความสวยงามแพทย์ควรจะต้องดูแลได้ทั้งอาการที่เป็นและเนรมิตตาคู่ใหม่ของเราให้สวยขึ้นได้ไปพร้อมๆกัน

Call Us Now