เมนู

รู้ก่อนฉีด! กับ 5 ปัญหาพบบ่อย หลังฉีดโบท็อกซ์

ฉีดโบท็อกซ์แล้ว-Cover

ฉีดโบท็อกซ์แล้วเจอปัญหา เรียกว่าผลข้างเคียงดีกว่าครับ ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ หรือสาร Botulinum Toxin ในปัจจุบันนั้นง่ายแสนง่าย การเข้าถึงที่มากขึ้นตามโซเชียลมีเดีย และราคาที่จับต้องได้ เดินเข้าคลินิกที่ไหนก็ฉีดได้เลย ง่ายเสียจนใครหลายคนลืมที่จะศึกษาถึงผลข้างเคียงที่ตามมา อย่าลืมนะครับว่าการฉีดโบท็อกซ์ก็เป็นหัตถการชนิดหนึ่ง ที่ควรทำโดยแพทย์เท่านั้น แต่สำคัญที่สุดคือการฉีดโบท็อกซ์ควรฉีดโดยแพทย์ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูง ต้องรู้ลึกถึงกายวิภาค(Anatomy) ของใบหน้าและกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังต้องมีศิลปะเข้าใจว่าคนไข้กลุ่มไหนควนหรือไม่ควรฉีด และถ้าจะฉีดควรใช้เทคนิคไหนถึงจะได้ผลดี รวมถึงผลข้างเคียงหลังฉีดที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกๆเคส

ฉีดโบท็อกซ์แล้วเจอปัญหา เป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยครั้ง จากการสอนแพทย์รุ่นน้องฉีดโบท็อกซ์มาหลายรุ่น หรือเป็นที่ปรึกษาแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการฉีด

โบท็อกซ์ พบว่าแพทย์หลายคนฉีดโบท็อกซ์แบบตายตัว ตามตำราเป๊ะๆ โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยด้านอื่นๆของคนไข้ที่อยู่ตรงหน้า เช่น ไม่ดูเรื่องสัดส่วนใบหน้า ไม่ดูการทำงานหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จะฉีด บางคนไม่ดูแม้กระทั่งรอยแผลที่คนไข้เคยไปทำตามาก่อนก็มี ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นรายละเอียดที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก แพทย์บางคนเคยฉีด 5 จุดๆ ละ 3 ยูนิตมา ก็จะฉีดแบบนี้ตลอดกับคนไข้ทุกคน พอเจอคนอายุมากๆ ที่มีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อยู่แล้ว

ฉีดเข้าไปก็ทำให้คนไข้คิ้วตก ลืมตาไม่ขึ้น เป็นต้น สำหรับใครที่ ฉีดโบท็อกซ์ไปแล้วเจอปัญหา มาศึกษากับ 5 ปัญหาที่พบได้บ่อย หลังฉีดโบท็อกซ์ ในบทความนี้กันครับ

1. ฉีดโบท็อกซ์แล้วคิ้วกระดก (Spock Brow)

ฉีดโบท็อกซ์แล้วคิ้วกระดก ในต่างประเทศจะเรียกอาการแบบนี้ว่า Spock Brow ที่หลังฉีดโบท็อกซ์ไปแล้ว คิ้วกระดกแปลกๆ เกิดจากฉีดยกคิ้วหรือแก้ริ้วรอยบริเวณหน้าผาก แต่ขณะฉีดยากระจายได้ไม่ทั่วกล้ามเนื้อหน้าผาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนที่ขยับได้ ทำงานมากกว่าปกติ คิ้วบริเวณดังกล่าวจึงถูกดึงขึ้นแบบผิดปกติ (Spock) บางทีถึงขั้นคิ้วผิดรูปจนหน้าตาเหมือนสระอิ การแก้ไขในกรณีนี้ไม่ยาก เพียงเติมโบท็อกซ์เล็กน้อย 1-2 ยูนิต เหนือบริเวณคิ้วที่กระดก ก็สามารถกลับเป็นปกติ

รูป Mr. Spock จากหนังเรื่อง Star Trek ผู้เป็นที่มาของชื่อ Spock Brow ขอบคุณรูปจาก r/Nimoy  

Mr. Spock ตัวอย่างอาการคิ้วกระดก

2. ฉีดโบท็อกซ์แล้วหนังตาตก (Lid ptosis)

ฉีดโบท็อกซ์แล้วหนังตาตก มักพบในตำแหน่งการฉีดระหว่างคิ้ว, หางตาด้านบน หรือฉีดยกคิ้ว ตาโต เนื่องจากในเปลือกตาบนของเรานั้นจะมีกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง ชื่อว่า Levator palpebral superioris คอยทำหน้าที่ดึงเปลือกตาบนขึ้น ดังนั้นการฉีดโบท็อกซ์ใกล้ตำแหน่งเปลือกตาบน จึงมีโอกาสที่ตัวยาจะกระจายมาโดนกล้ามเนื้อดังกล่าว แล้วทำให้กล้ามเนื้อหนังตาบนตก แพทย์ที่ฉีดบริเวณนี้ต้องใช้ทั้งความชำนาญรวมถึงความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่างเคสนี้ แม้จะมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่การฉีดโบท็อกซ์สามารถทำให้เกิดอาการหนังตาตกได้จริงๆ เครดิตจาก  TikTok/@ jessicaaaaaaf

Ptotsis from Botox

3. ฉีดโบท็อกซ์แล้วเกิดถุงใต้ตา

ฉีดโบท็อกซ์แล้วเกิดถุงใต้ตา สามารถเกิดขึ้นได้ครับ โดยกล้ามเนื้อรอบตามีชื่อว่า Orbicularis oculi โดยกล้ามเนื้อตัวนี้ทำให้เกิดรอยตีนกา(ที่ทุกคนไม่อยากได้) แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อดีอยู่นะครับ คือ การพยุงหรือเป็นตะแกรงคอยกั้นไม่ให้ไขมันที่อยู่ข้างล่างมันปูดออกมา คนไข้จำนวนมากไม่ชอบรอยหรือริ้วเล็กๆใต้ตา ก็มักจะแก้โดยการฉีดโบท็อกซ์เพื่อแก้ปัญหา พอฉีดไปบ่อยๆเข้า กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวก็จะอ่อนแรงลง ทำให้ไขมันที่อยู่ข้างใต้ดันกล้ามเนื้อจนปูด เกิดเป็นถุงใต้ตาในที่สุด

4. ฉีดโบท็อกซ์แล้วปากเบี้ยว

ฉีดโบท็อกซ์แล้วปากเบี้ยว สามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีแรก เรียกว่า “ยิ้มไม่ขึ้น” พบในการฉีดโบท็อกซ์ หางตา ใต้ตา และ โหนกแก้ม พวกนี้ตัวยาจะกระจายไปโดนกล้ามเนื้อ Zygomatic ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อสำคัญมากในการดึงมุมปากขึ้นขณะยิ้ม เมื่อกล้ามเนื้อนี้อ่อนแรง คนไข้จะไม่สามารถยกมุมปากข้างที่ฉีดขึ้นได้ นอกจากนี้ร่องแก้มและแก้มข้างเกิดการอ่อนแรง จะดูแบนลงอีกด้วย ในส่วนกรณีที่ 2 คือ “ปากล่างไม่ค่อยขยับ” มักพบในการฉีดกล้ามเนื้อรอบปาก ฉีดคาง ฉีดยกมุมปาก และฉีดปรับรูปหน้าแบบเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) โดยตัวโบท็อกซ์กระจายมาโดนกล้ามเนื้อ Depressor labii inferiors (DLI) และ Depressor anguli oris (DAO) เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรงหนึ่งข้าง จึงเกิดความไม่สมดุลของแรงในการดึงปาก คนไข้จะรู้สึกกินหรือดื่มน้ำลำบาก ปากจะเบี้ยวเห็นชัดขณะที่คนไข้พูดคุย

ฉีดโบท็อกซ์แล้วปากเบี้ยว

5. ฉีดโบท็อกซ์แล้วหน้าเหี่ยวกว่าเดิม

ฉีดโบท็อกซ์แล้วหน้าเหี่ยว ริ้วรอยเยอะกว่าเดิมมีจริงเหรอ ? คำตอบคือ  มีจริงครับ ส่วนใหญ่มักพบในเคสที่สูงอายุ เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีปัญหาเรื่องผิวหนังที่ขาด collagen และ elastin ทำให้ผิวหนังหย่อนยาน การที่กล้ามเนื้อขยับได้หรือมีการหดตัวนั้น จะเกิด muscle tone ซึ่งจะคอยพยุงผิวหนังที่หย่อนยานของคนกลุ่มนี้เอาไว้ เมื่อคนไข้ได้รับการฉีดโบท็อกซ์ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลง จะไม่มีตัวช่วยพยุง ผิวหนังบางส่วนจึงห้อยตกลงมาแทน พบได้บ่อยในการฉีดบริเวณหน้าผาก, ใต้ตา และกล้ามเนื้อกราม ดังนั้นแพทย์ต้องทราบว่าไม่ใช่ทุกเคสที่ควรได้รับการฉีดโบท็อกซ์ ควรคัดกรองว่าคนไข้นั้นๆเหมาะสมในการฉีดโบท็อกซ์หรือไม่ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงและปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาได้ครับ

ฉีดโบท็อกซ์แล้วหน้าเหี่ยวกว่าเดิม

หลังฉีดโบท็อกซ์แล้วเจอปัญหานั้น ไม่มีอะไรการันตีได้ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นครับ เพราะผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆเคส ดังนั้นหมออยากให้คนไข้มีสติและไม่ตื่นตระหนักจนเกินไป เพราะโบท็อกซ์เป็นสารที่สลายหรือหมดฤทธิ์ได้เอง ผลข้างเคียงหรือปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงสามารถคืนเป็นปกติได้เองเมื่อเวลาผ่านไปเองครับ หากมีใครมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโบท็อกซ์ หรือหัตถการอื่นๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่เพจ Goodwill Clinic นะครับ

Call Us Now