เมนู

โรค MG คืออะไร? ต่างกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังไง?

โรค MG คืออะไร ต่างกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังไง ทำไมต้องรู้ว่าต่างหรือไม่ต่างล่ะ? บอกได้คำเดียวว่า แม้ว่าอาการจะเหมือนกัน แต่รักษาไม่เหมือนกันนะคะ ถ้าหากอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก MG บอกเลยว่า แค่กินยาก็หายแล้วค่ะ ไม่ต้องผ่าตัดเลย โดยคนไข้หลายคนที่ต้องการมาแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกับคุณหมอ มีไม่น้อยเลย ที่เป็นโรค MG โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค MG กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าเจ้าโรคชนิดนี้ มีอาการแบบไหน ต่างจากอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตรงไหน และหากใครอยากจะศึกษาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพิ่มเติม ก็สามารถกดได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยนะคะ

เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายระบบของร่างกาย ซึ่งหากเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาก็จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เรียกง่ายๆว่า โรค MG เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยอาการหลักๆที่เห็นได้ชัดคือ ตาตก ตาปรือ หนักตา ลืมตาไม่ขึ้น โฟกัสภาพไม่ได้เลย

อาการของโรค MG

✔ ลืมตาไม่ขึ้น หนักตา โฟกัสภาพไม่ได้ เกิดภาพซ้อน

✔ ตาตก ตาปรือ

✔ ตอนเช้าตาเท่ากัน แต่พอช่วงบ่าย หนังตาจะเริ่มตกลงมาเรื่อยๆ

✔ มีอาการเป็นๆ หายๆ

✔ สามารถพบอาการอ่อนแรงได้ตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ใบหน้า ปาก คอ แขน

สาเหตุและการเกิดโรค MG

– ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

           โรค MG เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลาย ทำให้สารสื่อประสาททำงานลดลง และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถพบได้ในทุกช่วงวัย

– ต่อมไทมัสผิดปกติ

           โดยปกติแล้ว ต่อมไทมัสจะมีขนาดใหญ่ในช่วงวัยเด็ก และจะมีขนาดเล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะมีต่อมไทมัสที่ใหญ่เกินปกติ ส่งผลให้ร่างกายผลิตสารแอนติบอดี้ต่อโปรตีนที่รับสารอะซีทิลคอลีนในปริมาณมาก จึงส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ

– พันธุกรรม

           โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งหากคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้ สมาชิกในครอบครัวก็มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคนี้ได้เช่นกัน

รักษาโรค MG โดยไม่ต้องผ่าตัด

โรค MG สามารถรักษาด้วยการให้ยาเท่านั้น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่

– กลุ่มยาที่เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง แต่อาจมีผลข้างเคียงในช่วงแรกๆ เช่น ปวดท้อง ถ่ายท้อง น้ำลายไหล กล้ามเนื้อกระตุก โดยจะมีอาการมากในรายที่เริ่มทานยาในขนาดที่สูง

– กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะใช้เมื่อยาในกลุ่มแรกให้ผลที่ไม่ดีพอ หรือเริ่มมีอาการอื่นนอกจากหนังตาตก แต่จะมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างมาก เช่น สิวขึ้น อ้วนขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง ในคนไข้ที่ได้รับยา ทั้งนี้ ห้ามคนไข้หยุดยาเอง เนื่องจากจะมีผลข้างเคียง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ หรือฮอร์โมนผิดปกติตามมาได้

– กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุด มีฤทธิ์ทำลายตับหรือกดไขกระดูก

– หากคนไข้มีอาการเพียงหนังตาตกเล็กน้อย ไม่มีอาการอื่น แพทย์ให้เพียงยาหยอดตากลุ่มที่สามารถทำให้เปลือกตายกขึ้นได้ไปใช้ ซึ่งจะปลอดภัยมากที่สุด

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองกับยากลุ่มใดๆ ดังกล่าวเลย และมีอาการคงที่ แพทย์จะให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดหนังตานั้นให้ผลการรักษาที่ไม่แน่นอน

โรค MG ต่างกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังไง?

แม้อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและโรค MG จะมีอาการทั่วไปที่คล้ายคลึงกันมากๆ  เช่น เปลือกตาตกลงมา ภาวะที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก แต่จุดที่ต่างกันอย่างเห็นชัดมากๆจะเป็นอาการของโรค MG ที่จะเป็นๆหายๆ หรือในช่วงเช้าที่ตื่นนอนใหม่ๆ จะมีอาการน้อยมาก และหนังตาจะเริ่มตกมากขึ้นในช่วงบ่าย โดยจะดีขึ้นหลังได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอนั่นเองค่ะ

หากเป็นโรค MG แล้วผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะเกิดอะไรขึ้น

“หากคนไข้ทำการผ่าตัดดึงหนังตาโดยไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรค MG เมื่ออาการของโรคดีขึ้นหรือได้รับการรักษาอาจจะทำให้เปลือกตาถูกยกรั้งขึ้นผิดปกติ กลายเป็นหนังตาเหลือก ดังนั้น ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรมผ่าตัดหนังตา หากคนไข้มีอาการต่างๆ ข้างต้น ควรได้รับการตรวจว่าไม่ได้เกิดจากโรค MG ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดหนังตาหรือทำศัลยกรรมทำตาสองชั้นเพื่อแก้ไขหนังตาตกต่อไป”

Call Us Now